壮族吧 关注:21,849贴子:729,772

3000年前,我们交谈不用翻译

只看楼主收藏回复



1楼2012-06-09 21:32回复
    ชาวจ้วงในกวางสี พูด"ภาษาไทย" 3,000 ปีมาแล้ว


    2楼2012-06-09 21:33
    收起回复
      สรุปย่อจากหนังสือ คนไทย มาจากไหน? และ "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน?


      3楼2012-06-09 21:34
      回复
        หนานหนิง เป็นชื่อเมืองหลวงของมณฑลกวางสี ที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเพิ่งเดินทางไปประชุมนานาชาติเมื่อไม่นานมานี้ แล้วมี "สื่อ" จำนวนมากติดตามไปทำข่าว ได้พบชนชาติ "จ้วง" พูดภาษาไทยอยู่ที่นั่น
        มณฑลกวางสีทางใต้ของจีน มีพรมแดนติดกับเวียดนาม (ทางเหนือ) หลายปีมาแล้วกองทัพจีนเคยทำ "สงครามสั่งสอน" เวียดนาม บริเวณพรมแดนกวางสีกับเวียดนามตรงนี้
        มณฑลกวางสีกับมณฑลกวางตุ้งอยู่ติดกัน เป็นคน "เครือญาติ" พวกเดียวกันมาก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) ความหมายของชื่อมณฑลก็อย่างเดียวกันคือ กวาง หมายถึงที่ราบหรือที่กว้าง สี หมายถึงทิศตะวันตก ตุ้ง หมายถึงทิศตะวันออก
        


        4楼2012-06-09 21:35
        回复

          สรุปว่ากวางสีหมายถึงที่ราบทางทิศตะวันตก ส่วนกวางตุ้งหมายถึงที่ราบทางทิศตะวันออก
          เย่ว์ร้อยเผ่า บรรพชน "คนไทย"
          คนพื้นเมืองดั้งเดิมในกวางสีกับกวางตุ้งมีหลายชาติพันธุ์ จีนโบราณเคยบันทึกเป็นเอกสารว่าเป็นพวกเย่ว์ร้อยเผ่า เรียกเป็นภาษาจีนโบราณว่า ไป่เย่ว์ มีชีวิตอยู่ทางใต้ลุ่มน้ำแยงซี (เกียง) มากกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ยุคเดียวกับวัฒนธรรมบ้านเชียง (อุดรธานี) บ้านเก่า (กาญจนบุรี) และบ้านโนนวัด (นครราชสีมา)
          เย่ว์ร้อยเผ่า เป็นบรรพบุรุษของคนหลายกลุ่ม รวมทั้งเป็นบรรพชนคนพูดภาษาตระกูลไทย-ลาวทุกวันนี้ด้วย มีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีจำนวนมาก ชี้ว่าเมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว มีเย่ว์ร้อยเผ่าเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณสุวรรณภูมิโดยเฉพาะสองฝั่งโขงที่ลาวและอีสาน 


          5楼2012-06-09 21:35
          回复
            แล้วผสมกลมกลืนกับชาติพันธุ์พื้นเมืองกลายเป็นบรรพชนคนไทยและคนลาวปัจจุบัน (อ่านรายละเอียดในหนังสือ คนไทยมาจากไหน? พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2548 และ "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน? พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2549)
            เย่ว์ร้อยเผ่ามีกระจัดกระจายอยู่อย่างน้อย 3 มณฑล คือ กวางสี กวางตุ้ง และยูนนาน รวมทั้งที่เมืองกุ้ยหลินอันงดงามมีเสน่ห์ ก็คือพวกเย่ว์ในตระกูลไทย-ลาว หรือจ้วงนั่นแหละ แต่อาจเรียกตัวเองว่า ต้ง
            แต่เฉพาะในกวางสีถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขอร้องให้ใช้ชื่อรวมๆ เรียกเหมือนๆ กันเมื่อ พ.ศ.2508 ว่า จ้วง นับแต่นั้นมาพวกตระกูลไทย-ลาวในกวางสีเลยได้ชื่อจ้วง ทุกวันนี้มีราว 13 ล้านคน
            


            6楼2012-06-09 21:35
            回复

              แต่ในความจำกัดและคลุมเครือนั้น มีหลักฐานทางโบราณคดีและอื่นๆ ยืนยันสอดคล้องกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในมณฑลกวางสีและกวางตุ้งของจีนตอนใต้ (จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่) พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย แต่สมมุติเรียกให้กระชับและเข้าใจอย่างง่ายๆ ในที่นี้ว่าภาษาไทยสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันยังมีบางกลุ่มใช้พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง
              แม้คนในเมืองที่ไม่พูดภาษาไทยแล้ว แต่ยังมีความทรงจำบอกเล่าว่าบรรพชนของตนพูดภาษา "จ้วง" อันเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย แต่ไม่ใช่คนไทย แล้วเรียกภาษาพูดของตนว่าภาษาจ้วง ที่จับสำเนียงได้ว่าใกล้เคียงตระกูลภาษาไทยสำเนียงลาวสองฝั่งโขงและสำเนียงปักษ์ใต้ 


              7楼2012-06-09 21:35
              回复
                เช่น นครศรีธรรมราช
                บรรพชนคนจ้วงดั้งเดิมปลูกเรือนเสาสูง กินข้าวเหนียว จึงมีบ๊ะจ่างเหมือนขนมจ้างของไทย-ลาว กับทำขนมเข่งด้วยข้าวเหนียวใช้ไหว้เจ้า (ผี) ตอนตรุษจีน (พวกฮั่น (จีน) อยู่ทางเหนือๆ ขึ้นไป กินข้าวสาลี ทำหมั่นโถวซาลาเปาไหว้เจ้า)
                


                8楼2012-06-09 21:35
                回复
                  แต่ในความจำกัดและคลุมเครือนั้น มีหลักฐานทางโบราณคดีและอื่นๆ ยืนยันสอดคล้องกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในมณฑลกวางสีและกวางตุ้งของจีนตอนใต้ (จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่) พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย แต่สมมุติเรียกให้กระชับและเข้าใจอย่างง่ายๆ ในที่นี้ว่าภาษาไทยสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันยังมีบางกลุ่มใช้พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง
                  แม้คนในเมืองที่ไม่พูดภาษาไทยแล้ว แต่ยังมีความทรงจำบอกเล่าว่าบรรพชนของตนพูดภาษา "จ้วง" อันเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย แต่ไม่ใช่คนไทย แล้วเรียกภาษาพูดของตนว่าภาษาจ้วง ที่จับสำเนียงได้ว่าใกล้เคียงตระกูลภาษาไทยสำเนียงลาวสองฝั่งโขงและสำเนียงปักษ์ใต้
                  


                  9楼2012-06-09 21:36
                  回复
                    แต่ในความจำกัดและคลุมเครือนั้น มีหลักฐานทางโบราณคดีและอื่นๆ ยืนยันสอดคล้องกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในมณฑลกวางสีและกวางตุ้งของจีนตอนใต้ (จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่) พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย แต่สมมุติเรียกให้กระชับและเข้าใจอย่างง่ายๆ ในที่นี้ว่าภาษาไทยสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันยังมีบางกลุ่มใช้พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง
                    แม้คนในเมืองที่ไม่พูดภาษาไทยแล้ว แต่ยังมีความทรงจำบอกเล่าว่าบรรพชนของตนพูดภาษา "จ้วง" อันเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย แต่ไม่ใช่คนไทย แล้วเรียกภาษาพูดของตนว่าภาษาจ้วง ที่จับสำเนียงได้ว่าใกล้เคียงตระกูลภาษาไทยสำเนียงลาวสองฝั่งโขงและสำเนียงปักษ์ใต้
                    


                    10楼2012-06-09 21:36
                    回复
                      หนานหนิง เป็นชื่อเมืองหลวงของมณฑลกวางสี ที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเพิ่งเดินทางไปประชุมนานาชาติเมื่อไม่นานมานี้ แล้วมี "สื่อ" จำนวนมากติดตามไปทำข่าว ได้พบชนชาติ "จ้วง" พูดภาษาไทยอยู่ที่นั่น
                      มณฑลกวางสีทางใต้ของจีน มีพรมแดนติดกับเวียดนาม (ทางเหนือ) หลายปีมาแล้วกองทัพจีนเคยทำ "สงครามสั่งสอน" เวียดนาม บริเวณพรมแดนกวางสีกับเวียดนามตรงนี้
                      มณฑลกวางสีกับมณฑลกวางตุ้งอยู่ติดกัน เป็นคน "เครือญาติ" พวกเดียวกันมาก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) ความหมายของชื่อมณฑลก็อย่างเดียวกันคือ กวาง หมายถึงที่ราบหรือที่กว้าง สี หมายถึงทิศตะวันตก ตุ้ง หมายถึงทิศตะวันออก
                      


                      11楼2012-06-09 21:36
                      回复
                        จ้วง เป็นเครือญาติตระกูลไทย
                        "จ้วง เป็นเครือญาติตระกูลไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด" มีคำอธิบายรายละเอียดพร้อมรูปถ่าย (ที่พิมพ์ประกอบในเรื่องนี้) ไว้ในหนังสือชื่อคนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537) จะขอสรุปคัดมาลงไว้ดังต่อไปนี้
                        ที่ว่า "จ้วงเป็นเครือญาติตระกูลไทย" ก็เพราะภาษาจ้วงกับภาษาไทยอยู่ในตระกูลเดียวกัน ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน
                        


                        12楼2012-06-09 21:41
                        回复

                          นิทานปรัมปราและนิยายศักดิ์สิทธิ์ที่ถ่ายทอด "ปากต่อปาก" ด้วยภาษาจ้วงหรือภาษาตระกูลไทย เช่น เรื่องกำเนิดคน เรื่องการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสัมพันธ์กับน้ำฝน เช่น กบ ฯลฯ ล้วนคล้ายคลึงกับนิทานและนิยายของชนชาติไทยทุกกลุ่มทุกเหล่า รวมทั้งคนไทยในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ชาวจ้วงย่อมพูดว่า "ไทยเป็นเครือญาติตระกูลจ้วง"-ด้วยก็ได้
                          ที่ว่า-"ผู้ยิ่งใหญ่"-ก็เพราะในมณฑลกวางสีมีชาวจ้วงถึง 12-13 ล้านคน และอยู่ในเขตมณฑลอื่นๆ อีกเกือบ 1 ล้านคน นับเป็นเครือญาติตระกูลไทยที่มีจำนวนมากที่สุดที่อยู่นอกดินแดนประเทศไทยซึ่งนับว่าใหญ่มาก
                          


                          13楼2012-06-09 21:41
                          回复

                            นอกจากนั้นชาวจ้วงยังมีส่วนเป็นเจ้าของ "วัฒนธรรมฆ้อง" (มโหระทึก) ที่เป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมยุคแรกเริ่มของภูมิภาคอุษาคเนย์ด้วย นี่แหละ "ผู้ยิ่งใหญ่"
                            


                            14楼2012-06-09 21:41
                            回复
                              ที่ว่า-"เก่าแก่ที่สุด"-ก็เพราะมีร่องรอยและหลักฐานว่าจ้วงมีวัฒนธรรมสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว โดยดูจากภาพเขียนที่ผาลายกับมโหระทึกและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบความเชื่อ "ผี"
                              ภาพเขียนมหึมาบนภูผามหัศจรรย์-หรือผาลาย เป็นภาพพิธีกรรมขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ มีภาพมโหระทึกและกลุ่มคนประโคมตีมโหระทึก มีภาพคนประดับขนนกบนหัวแล้วทำท่ากางขากางแขนคล้ายกบ
                              มโหระทึกเป็นกลองหรือฆ้องทำด้วยสัมฤทธิ์ที่มีตัวตนเป็นวัตถุจริงๆ เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของภูมิภาคอุษาคเนย์โดยเฉพาะ และมีพัฒนาการเกือบ 3,000 ปีมาแล้ว อาจนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมแรกเริ่มของภูมิภาคอุษาคเนย์ก่อนรับอารยธรรมจากจีนและอินเดีย


                              15楼2012-06-09 21:42
                              回复