กบฏแมนฮัตตัน หรือ กรณีแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่ท่าราชวรดิฐ โดยนำไปกักขังไว้ในเรือรบหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้
เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า
ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก
ในส่วนของกองบัญชาการฝ่ายรัฐบาลที่ตั้งขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ฝ่ายกองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ส่งผู้แทนหลายคนเข้าพบนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการระดับสูงของทางรัฐบาล เพื่อยืนยันว่า กรณีนี้ทางฝ่ายทหารเรือส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นเพียงการกระทำการของนายทหารชั้นผู้น้อยไม่กี่นายเท่านั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกองทัพ แต่กระนั้น ทาง พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบก รวมถึง พล.ท.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ยืนยันว่า การกระทำเช่นนี้นับว่าอุกอาจมาก เพราะเป็นการกระทำต่อหน้าทูตต่างชาติหลายประเทศ รวมทั้งจะให้ทางฝ่ายทหารเรือแอบขึ้นเรือรบหลวงศรีอยุธยาในยามวิกาลเพื่อบุกชิงตัวจอมพล ป. กลับคืนมาให้ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ไม่เช่นนั้นจะยิงทุกจุดที่มีทหารเรืออยู่ เพราะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอกำลังฝ่ายกบฏมาสมทบ แต่ทางฝ่ายทหารเรือไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้น โดยให้เหตุผลว่าหากทำเช่นนั้น เกรงว่าจอมพล ป. จะได้รับอันตรายได้
เรือหลวงศรีอยุธยา ขณะถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
ในที่สุดมีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spitfire และ T6 ใส่เรือรบหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือสวมเสื้อชูชีพนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ ที่สุดทั้งฝ่ายกบฏและรัฐบาลเปิดการเจรจากัน ฝ่ายกบฏได้ปล่อยตัวจอมพล ป. ให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยผ่านทางทหารเรือด้วยกัน ซึ่ง พล.ร.อ.สินธุ์ ก็ได้นำตัวคืนสู่วังปารุสกวัน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันนั้น เป็นอันสิ้นสุดเหตุการณ์ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ในส่วนของผู้ก่อการได้ถูกบีบบังคับให้ขึ้นรถไฟไปทางภาคเหนือ จากนั้นจึงแยกย้ายกันหลบหนีข้ามพรมแดนไปพม่าและสิงคโปร์
ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนี
ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้
เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า
ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก
ในส่วนของกองบัญชาการฝ่ายรัฐบาลที่ตั้งขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ฝ่ายกองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ส่งผู้แทนหลายคนเข้าพบนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการระดับสูงของทางรัฐบาล เพื่อยืนยันว่า กรณีนี้ทางฝ่ายทหารเรือส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นเพียงการกระทำการของนายทหารชั้นผู้น้อยไม่กี่นายเท่านั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกองทัพ แต่กระนั้น ทาง พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบก รวมถึง พล.ท.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ยืนยันว่า การกระทำเช่นนี้นับว่าอุกอาจมาก เพราะเป็นการกระทำต่อหน้าทูตต่างชาติหลายประเทศ รวมทั้งจะให้ทางฝ่ายทหารเรือแอบขึ้นเรือรบหลวงศรีอยุธยาในยามวิกาลเพื่อบุกชิงตัวจอมพล ป. กลับคืนมาให้ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ไม่เช่นนั้นจะยิงทุกจุดที่มีทหารเรืออยู่ เพราะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอกำลังฝ่ายกบฏมาสมทบ แต่ทางฝ่ายทหารเรือไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้น โดยให้เหตุผลว่าหากทำเช่นนั้น เกรงว่าจอมพล ป. จะได้รับอันตรายได้
เรือหลวงศรีอยุธยา ขณะถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
ในที่สุดมีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spitfire และ T6 ใส่เรือรบหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือสวมเสื้อชูชีพนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ ที่สุดทั้งฝ่ายกบฏและรัฐบาลเปิดการเจรจากัน ฝ่ายกบฏได้ปล่อยตัวจอมพล ป. ให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยผ่านทางทหารเรือด้วยกัน ซึ่ง พล.ร.อ.สินธุ์ ก็ได้นำตัวคืนสู่วังปารุสกวัน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันนั้น เป็นอันสิ้นสุดเหตุการณ์ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ในส่วนของผู้ก่อการได้ถูกบีบบังคับให้ขึ้นรถไฟไปทางภาคเหนือ จากนั้นจึงแยกย้ายกันหลบหนีข้ามพรมแดนไปพม่าและสิงคโปร์
ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนี